ค้นหาบล็อกนี้

กัญชาเสรี สายเขียวต้องรู้ ปลูกบ้านละ 6 ต้น ต้มยำทำแกง ไม่ผิดกฎหมาย

กัญชาจะให้สาร CBD หรือ Cannabidiol บรรเทาอาการเจ็บปวด ไม่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท และสาร THC หรือ Tetrahydrocannabinol ออกฤทธิ์ต่อสมองและระบบประสาทโดยตรง ซึ่งกัญชาแต่ละสายพันธุ์ จะให้สารเหล่านี้แตกต่างกัน
ตั้งแต่ปี 2562 ไทยทยอยปลดล็อกการใช้ประโยชน์จาก "กัญชา"ในทางการแพทย์และวิจัย เฉพาะผู้ป่วยต้องใช้กัญชารักษาตัว ให้ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง โดยผ่านการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ

รวมถึงสามารถนำไปประกอบอาหาร ทำยาสมุนไพรได้ ต้องมาจากส่วนประกอบของกัญชาที่ไม่ใช่ยาเสพติด เช่น เส้นใย เปลือก กิ่ง ก้าน ราก และใบกัญชาที่ไม่มียอดหรือช่อดอก จากสถานที่ปลูกหรือผลิตในประเทศที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น

กัญชาเสรี สายเขียวต้องรู้ ปลูกบ้านละ 6 ต้น ต้มยำทำแกง ไม่ผิดกฎหมาย
กัญชาจะให้สาร CBD หรือ Cannabidiol บรรเทาอาการเจ็บปวด ไม่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท และสาร THC หรือ Tetrahydrocannabinol ออกฤทธิ์ต่อสมองและระบบประสาทโดยตรง ซึ่งกัญชาแต่ละสายพันธุ์ จะให้สารเหล่านี้แตกต่างกัน

ตั้งแต่ปี 2562 ไทยทยอยปลดล็อกการใช้ประโยชน์จาก "กัญชา"ในทางการแพทย์และวิจัย เฉพาะผู้ป่วยต้องใช้กัญชารักษาตัว ให้ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง โดยผ่านการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ

รวมถึงสามารถนำไปประกอบอาหาร ทำยาสมุนไพรได้ ต้องมาจากส่วนประกอบของกัญชาที่ไม่ใช่ยาเสพติด เช่น เส้นใย เปลือก กิ่ง ก้าน ราก และใบกัญชาที่ไม่มียอดหรือช่อดอก จากสถานที่ปลูกหรือผลิตในประเทศที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น

เพราะฉะนั้นแล้วสายเขียวทั้งหลายอย่าสับสนว่าเป็นนโยบาย "กัญชาเสรี" แม้ที่ผ่านมามีการนำร่องปลูกกัญชา 6 ต้น ในกลุ่มสมาชิกวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรไทยโนนมาลัย จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นเมืองต้นแบบในการปลูกและผลิตกัญชาทางการแพทย์ แต่ถามว่าชาวบ้านทั่วไป จะสามารถปลูกได้หรือไม่?
ข้อควรรู้นำกัญชาทำอาหาร เอาใจสายเขียว ไม่เสี่ยงถูกจับ
ในกรณีร้านอาหาร สามารถประกอบอาหารจากกัญชาได้ หลังมีการปลดกัญชาออกจากยาเสพติดในพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฉบับที่ 7 เฉพาะใบ รากต้นเท่านั้น ยกเว้นช่อดอก ใบติดดอก และเมล็ดกัญชา ยังเป็นยาเสพติด โดยกัญชาที่นำมาทำเป็นเมนูอาหาร ต้องมาจากแหล่งปลูกที่ถูกกฎหมาย ซึ่งได้มีการขออนุญาตในการใช้ประโยชน์กับ อย.
“ร้านอาหารไม่ต้องขออนุญาต แต่คนทำอาหารจากกัญชา ต้องมีความรู้ในการปรุงว่าสามารถใส่มากใส่น้อยอย่างใดไม่ให้คนเมา แม้อย.ไม่ได้ล็อกหรือบังคับต้องผ่านการอบรม คาดว่าแนวทางต่างๆ จะออกมาภายหลัง เช่น ห้ามขายให้กับคนอายุ ต่ำกว่า 25 ปี ผู้ป่วยโรคเลือด หญิงตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยง และใบกัญชาสด มีสาร THC หากเจอความร้อนจัด จะมีฤทธิ์มาก เช่น บราวนี่ใส่กัญชา ขณะที่เมนูบางอย่าง เช่น ใบกัญชาชุบแป้งทอด เมื่อโดนความร้อนจะรีดน้ำมันกัญชาออกมา ทำให้ฤทธิ์น้อยลง และที่สำคัญห้ามบริโภควันละไม่เกิน 5 ใบ ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ของกัญชามีฤทธิ์ไม่เท่ากัน สิ่งเหล่านี้ต้องให้ความรู้”
สรุปแล้วการนำใบกัญชาไปประกอบอาหาร ยังมีข้อควรระวัง เนื่องจากการใช้กัญชาในอาหารเป็นสิ่งใหม่ในสังคมไทย ผู้บริโภคควรเริ่มต้นรับประทานแต่น้อย และบางกลุ่ม เช่น เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัวควรระมัดระวังในการรับประทาน ซึ่งทางอย.ร่วมกับโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จะเผยแพร่ความรู้ในการประกอบอาหารจากกัญชา อย่างปลอดภัยเร็วๆ นี้
กัญชาปลูกบ้านละ 6 ต้น ทำได้ถ้วนหน้า แต่มีเงื่อนไข
อีกข้อสงสัยของสังคมในกรณีปลูกกัญชาบ้านละ 6 ต้น สามารถทำได้ทั่วประเทศ ไม่ใช่เฉพาะที่จ.บุรีรัมย์เท่านั้น โดยต้องรวมตัวกัน 7 ครัวเรือนขึ้นไปทำเป็นวิสาหกิจชุมชน ไปจดแจ้งกับเกษตรอำเภอ นำไปสู่กระบวนการทำเรื่องขอใบอนุญาตจากอย. ในการทำผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากกัญชา อย่างกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรไทยโนนมาลัย จ.บุรีรัมย์ โดยมีหน่วยงานภาครัฐคอยช่วยเหลือแนะนำในการปลูกแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ เพราะกัญชามีศัตรูพืชและโรคต่างๆ ไม่สามารถปลูกได้ง่ายๆ ต้องเลือกสายพันธุ์ให้เหมาะสมและมีวิธีปลูกที่ถูกต้อง

ขณะที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 378 พ.ศ. 2559 ออกตามพ.ร.บ.อาหาร ปี 2522 ซึ่งเน้นการควบคุมผลิตภัณฑ์ ห้ามใช้กัญชามาปรุงอาหาร มีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท ซึ่งในขณะนี้ทาง อย. กำลังเร่งพิจารณาเพื่อเสนอให้มีการแก้ไขประกาศฉบับนี้ คาดอาจมีการออกประกาศฉบับใหม่ในเร็วๆ นี้ เพื่อไม่เกิดความสับสน หากร้านอาหารใดจะนำใบกัญชามาประกอบอาหาร คงต้องติดตามกันต่อไป เพราะยังมีหลายร้านยังหวั่นๆ จะถูกจับอาจจะต้องชะลอออกเมนูอาหารมีส่วนผสมของกัญชาไว้ก่อน หรือบางร้านยึดคำแถลงของอย.ที่ออกมาล่าสุดว่าสามารถทำได้ ไม่ต้องขออนุญาต.

ผู้เขียน : ปูรณิมา

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น