ค้นหาบล็อกนี้

บุกจับคาล้งรับซื้อ พบทุเรียนอ่อน 1 ตัน เสียหายนับล้านบาท แจ้งข้อหาลงโทษหนัก

ฝ่ายปกครองสนธิกำลังบุกจับทุเรียนอ่อน คาล้งรับซื้อกว่า 1 ตัน มูลค่านับล้านบาท ผู้ว่าประกาศลงดาบ ดำเนินคดีโทษหนัก ทั้งจำและปรับ
วันที่ 31 มี.ค. 64 ที่ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี นายสุธี ทองแย้ม ผวจ.จันทบุรี , พร้อมด้วย พล.ต.ต.จรัล จิตเจือจุน รอง ผบช.ฯ รรท.ผบก.ภ.จว.จันทบุรี นำส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลงผลจับกุมและดำเนินคดีเกี่ยวกับการลักลอบ ซื้อขายทุเรียนอ่อนด้อยคุณภาพ ในพื้นที่ จ.จันทบุรี ภายหลังจากชุดเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ ออกสู่ตลาด บูรณาการความร่วมมือ ออกสุ่มตรวจจับกุมผู้กระทำผิด ในพื้นที่ 3 อำเภอ ตรวจพบมีการ ซื้อ-ขาย ทุเรียนอ่อนด้อยคุณภาพจำนวนมาก
นายสุธี เปิดเผยว่า จากผลการปฏิบัติงานของชุดเฉพาะกิจฯ สนธิกำลังร่วมกับ เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง , เจ้าพนักงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ เจ้าหน้าที่งานปราบปราม สภ.นายายอาม เข้าตรวจสอบล้งรับซื้อทุเรียน ต.วังโตนด อ.นายายอาม พบทุเรียนพันธุ์ชะนี ด้อยคุณภาพ จำนวน 192 ลูก เป็นทุเรียนอ่อน ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์น้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานจากการตรวจสอบ พบมี นายสืบพงศ์ ผู้จัดการล้งมาแสดงตัวเป็นผู้ครอบครอง และยินยอมให้ตรวจยึด ต่อมา นายสืบพงษ์ เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน และรับทราบข้อกล่าวหา “พยายามขายของ โดยหลอกลวงด้วยประการใดๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพหรือปริมาณแห่งของนั้น อันเป็นเท็จนอกจากนี้ ยังได้ตรวจพบและจับกุม ผู้ลักลอบซื้อ-ขายทุเรียนอ่อน บริเวณตลาดรับซื้อผลไม้เนินสูง ต.เขาวัว อ.ท่าใหม่ และโรงคัดบรรจุทุเรียน ต.ท่าช้าง อ.เมือง ขณะบรรจุในกล่องกระดาษ เพื่อเตรียมส่งออกไปขายประเทศจีน จึงได้ตรวจยึดไว้ รวมน้ำหนักกว่า 1000 กิโลกรัม ค่าความเสียหายนับล้านบาท พร้อมนำทุเรียนดังกล่าว ส่งพนักงานสอบสวน ในการดำเนินคดีกับผู้ครอบครองนายสุธี กล่าวต่อว่า จากความต้องการทุเรียนเป็นจำนวนมาก ทั้งในประเทศ และตลาดต่างประเทศ ทำให้มีคนบางกลุ่มใช้วิธีการนำทุเรียนด้อยคุณภาพออกสู่ท้องตลาด สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ มูลค่าหลายล้านบาท และยังประทบต่อกลไลการตลาด ทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำ เกษตรกรชาวสวนได้รับความเดือดร้อน จึงอยากให้เกษตรกรชาวจันทบุรี ต้องรักษาคุณภาพมาตรฐาน เพื่อชื่อเสียงของจังหวัดและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ไม่จำหน่ายผลผลิตทุเรียนอ่อน เป็นการหลอกลวงผู้ซื้อหรือผู้บริโภค
ขณะเดียวกัน ทางจังหวัดมีมาตรการเข้ม ในเรื่องบทลงโทษ ผู้ที่กระทำความผิด และผู้ที่เกี่ยวข้องในสถานหนัก หากพบการเก็บเกี่ยว หรือ ซื้อ-ขาย ทุเรียนด้อยคุณภาพ หรือ ทุเรียนอ่อน ในส่วนของเกษตรกร จะมีการพิจารณาพักใบรับรอง GAP และ พิจารณาพักใบรับรอง GMP สำหรับล้งรับซื้อผลไม้ส่งออก

อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคซื้อทุเรียน และพบว่าเป็นทุเรียนอ่อน ผู้บริโภคสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีผู้ขายได้ที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด หรือ อำเภอที่ตั้งของร้านจำหน่ายสินค้า ซึ่งเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 271 และ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 47 มีโทษทั้งจำ และปรับ



ข้อมูล : Khaosod

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น